การเยียวยาจิตใจ เพื่อนสนิท

เมื่อเพื่อนสนิท สุขภาพจิตแย่ จะช่วยยังไง? | วิธีสังเกต และ การเยียวยาจิตใจ

Home / เพื่อน / เมื่อเพื่อนสนิท สุขภาพจิตแย่ จะช่วยยังไง? | วิธีสังเกต และ การเยียวยาจิตใจ

หลายๆ คนบอกว่า วัยเรียนเป็นวัยที่สบายที่สุด แต่จริงๆ แล้วทุกช่วงวัยก็มีปัญหาที่แตกต่างกันไป ซึ่งปัญหาสุขภาพจิตของวัยรุ่น วัยเรียนไม่อาจมองข้ามได้ แน่นอนว่าคนที่จะช่วยเยียวยาจิตใจได้ คือจิตแพทย์ ครอบครัว และอีกหนึ่งกำลังใจที่สำคัญไม่แพ้กันก็คือเพื่อน เพราะเด็กในช่วงวัยเรียนจะอยู่กับเพื่อนมากที่สุด โดยเฉพาะนักศึกษาที่อยู่หอ เพื่อนจึงต้องช่วยกันสังเกต และเยียวยาจิตใจเท่าที่จะทำได้ บางทีปัญหาบางเรื่องเพื่อนของคุณอาจจะไม่กล้าบอกครอบครัว หรือเป็นเรื่องที่เพื่อนเข้าใจกันมากกว่า ไม่มีใครไม่อยากช่วยให้เพื่อนรักหลุดพ้นจากปัญหาใช่ไหมล่ะ แต่คุณจะช่วยเหลือเพื่อนของคุณได้อย่างไร

เมื่อเพื่อนสนิท สุขภาพจิตแย่ จะช่วยยังไง?

เช็คหน่อย เพื่อนมีปัญหาอยู่หรือเปล่า ? | วิธีการสังเกต

การใช้ชีวิตประจำวันเปลี่ยนไป

ลองสังเกตการใช้ชีวิตประจำวัน เช่น ทานอาหารน้อย หรือมากกว่าปกติ นอนน้อย หรือมากกว่าปกติ ถ้าการใช้ชีวิตประจำวันของเพื่อนผิดปกติไป เพื่อนของคุณอาจจะมีปัญหาอยู่ในใจ

อารมณ์แปรปรวน

สังเกตได้จากอารมณ์ของเพื่อน ว่าอารมณ์แปรปรวนผิดปกติไปกว่าเดิมหรือไม่ เพื่อนของคุณอาจจะโมโหฉุนเฉียวง่ายทั้งที่ปกติไม่เป็น บางทีก็มีอารมณ์อ่อนไหวกว่าปกติ และบางครั้งเพื่อนของคุณอาจจะพูด หรือแสดงออกว่า เครียด กังวล หรือตัวเองไม่มีค่า ซึ่งคำพูดพวกนี้ก็ไม่ควรมองข้าม ถ้าคุณรู้ว่าเพื่อนของคุณมีปัญหา คุณก็ควรที่จะเข้าใจ ไม่เก็บนำมาเป็นอารมณ์เช่นกัน

ทำร้ายตัวเอง

พฤติกรรมแบบนี้สังเกตได้ง่ายที่สุด แต่ก็อันตรายมากที่สุดเช่นกัน ในบางกรณีอาจจะไม่ได้ทำร้ายตัวเองโดยตรง แต่อาจจะมีพฤติกรรมที่ทำให้ตัวเองไปอยู่ในสถานการณ์เสี่ยงอันตราย เช่น ดื่มแอลกอฮอล์อย่างหนักทั้งที่ปกติไม่ชอบ

วิธีการเข้าสังคมแปลกไป

ลองสังเกตว่าเพื่อนของคุณเริ่มเก็บตัวอยู่แต่ในห้อง ไม่ออกไปไหน ไม่เข้าสังคมหรือไม่ แต่ในทางกลับกัน เพื่อนที่ไม่ชอบเข้าสังคมอาจจะเข้าสังคมมากขึ้น

วิธีช่วยเยียวยาจิตใจ

ถาม

วิธีข้างต้นเป็นการสังเกตแบบคร่าวๆ ซึ่งคนแต่ละคนจะแสดงออกแตกต่างกันไป ถ้าคุณสนิทกับเพื่อนมากพอ ก็ลองเกริ่นถามดูว่าสบายดีไหม มีปัญหาอะไรหรือเปล่า ถ้าเพื่อนของคุณไว้ใจคุณแล้วเล่าปัญหาออกมา วิธีนี้เป็นวิธีที่ดีที่สุด เพราะคุณจะได้ช่วยเหลือเพื่อนได้อย่างถูกต้อง

ทำให้รู้ว่ายังมีคุณอยู่

แต่บางครั้งเพื่อนของคุณยังไม่พร้อมที่จะเล่าให้คุณฟัง ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลอะไร คุณก็ไม่ควรไปคาดคั้น แต่คุณลองทำให้เพื่อนคุณรู้สึกว่า ไม่ว่าจะยังไงคุณจะอยู่เคียงข้างเพื่อนของคุณเสมอ รอจนกว่าเพื่อนของคุณพร้อมที่จะเล่าให้คุณฟัง

สัญญาณบอกใบ้

บางครั้งวิธีการถามโดยตรง หรือรอจนกว่าเพื่อนจะบอกก็ไม่ได้ผล เพราะเพื่อนของคุณอาจจะไม่อยากให้คุณไม่สบายใจไปด้วย หรือไม่กล้าเล่าให้คุณฟัง ลองสังเกตจากคำบอกใบ้ต่างๆ เช่น เพื่อนของคุณอาจจะเผลอพูดออกมาบ่อยๆ ว่าเหนื่อย หรือเครียด แล้วลองตั้งคำถามจากสิ่งที่เพื่อนพูดออกมา เช่น ได้ยินว่าเหนื่อย เป็นยังไงบ้าง ดีขึ้นหรือยัง

ชวนออกไปข้างนอก

ถ้าเพื่อนของคุณเข้าสังคมน้อยลง อาจจะไม่ได้หมายความว่าเพื่อนของคุณไม่อยากเข้าสังคม หรือไม่ดีใจที่คุณชวน ฉะนั้นลองชวนเพื่อนออกไปข้างนอก ออกไปเที่ยว ไปปาร์ตี้ ไปทานข้าว แต่ไม่ควรบังคับให้ไป

ช่วยเหลือเท่าที่จะทำได้

แน่นอนว่าคุณเป็นเพียงคนธรรมดา ไม่ใช่จิตแพทย์ ฉะนั้นสิ่งที่คุณทำได้อาจจะเป็นเพียงสิ่งเล็กๆ น้อยๆ แต่จริงๆ แล้วสามารถช่วยเพื่อนของคุณในขณะที่มีปัญหาให้ดีขึ้นได้ เช่นซื้ออาหาร ซื้อขนมไปฝาก ไปหาหมอเป็นเพื่อน ช่วยโทรไปนัดหมอ หรือช่วยเขียนอีเมลขอคำปรึกษา

ดูแลตัวคุณเองด้วย

แน่นอนว่าการช่วยเหลือของคุณควรมีขอบเขต ควรช่วยเหลือเท่าที่คุณสามารถจะทำได้ ไม่แบกรับปัญหาของเพื่อนด้วยตัวคนเดียว

ขอบคุณข้อมูลจาก : www.theguardian.com

บทความแนะนำ