การพูดเฉยๆ ใครๆ ก็สามารถพูดได้ แต่พูดเพื่อสร้างแรงบันดาลใจ ให้ประโยชน์แก่ผู้อื่น หรือบุคคลส่วนรวมนั้นเป็นไปได้ยาก เพราะการพูดถือเป็นศาสตร์แขนงหนึ่ง ที่มีทั้งหลักการ และกฎเกณฑ์ เพื่อให้ผู้พูดเองสามารถที่จะทำให้ผู้อื่นเกิดความพึงพอใจ เข้าใจ และสนใจในสิ่งที่ผู้พูดพูดได้ … เรามาลองทดสอบกันหน่อยดีกว่าว่า เพื่อนๆ เหมาะจะเป็นนักพูดรึเปล่า
“คุณเหมาะจะเป็นนักพูดหรือเปล่า?”
(1) เหตุผลที่คุณชอบที่จะพูดคุยกับคนอื่น
A. ได้พูดคุยอย่างสนุกสนาน และสร้างเสียงหัวเราะให้กันและกัน
B. ได้พูดคุยโดยใช้ความคิดเห็นของตนเองสื่อไปให้คนอื่นได้รู้
C. ได้พูดคุยกับผู้อื่นอย่างสร้างสรรค์และนำเสนอแนวคิดดีๆ ให้แก่ผู้อื่น
(2) ถ้าจู่ๆ อาจารย์ให้ไปพูดเรื่องอะไรก็ได้หนึ่งเรื่องหน้าชั้นเรียนคุณจะ….
A. โอ้ย! ตายแน่ๆ เลย ไม่รู้จะออกไปพูดอะไรดี
B. ออกไปเลยจ้า พูดเรื่องสนุกไปเรื่อยเปื่อยตามสไตล์ของตัวเอง
C. เขียนใส่กระดาษเรียบเรียงลำดับเรื่อง จะพูดเรื่องอะไร จุดเด่นคืออะไร
(3) น้ำเสียงที่คุณมักจะใช้พูดคุยในการสื่อสารกับผู้อื่น
A. พูดเสียงดัง ฟังชัดทุกคำพูด เพื่อนๆ จะต้องได้ยินเสียงของฉัน
B. พูดไปเรื่อยๆ เหมือนอ่านหนังสือเรียน เสียงระนาบเดียวกันหมด
C. พูดอย่างมีจังหวะ ไม่พูดเร็วจนเกินไป มีเสียงสูงต่ำทำให้คนสนใจ
(4) การแสดงออกของคุณเวลาต้องออกไปพูดกับคนหมู่มากเป็นแบบไหน
A. เกร็งไปทั้งตัว ถ้าอาจารย์ให้ออกไปพูดหน้าชั้น
B. แม้จะเหงื่อออก มือชื้น แต่ก็ยังสามารถพูดได้เรื่อยๆ
C. หายใจเข้าลึกๆ แล้วค่อยๆ พูดให้ช้าๆ เพื่อไม่ใช้ตัวเองลน สบตากับผู้ฟัง
(5) ถ้ามีคนมาบอกแย้งสิ่งที่คุณพูดคุณจะทำอย่างไร
A. รีบหาคำโต้แย้งทันที ตามเอกสารที่ได้เตรียมมา ตามข้อมูลที่คุณได้ค้นมาแล้ว
B. ยิ้มรับและตอบด้วยหลักวิชาการ ปรัชชา คำคมต่างๆ ที่สนับสนุนการพูดของคุณ
C. รับฟังคำวิจารย์ หรือข้อโต้แย้ง ตอบรับอย่างสุภาพ และบอกว่าจะนำมาหาข้อมูลเพิ่มเติมและแก้ไขในครั้งต่อไป
ถ้าคุณได้เลือกข้อ C มากกว่า 3 ข้อขึ้นไป
ยินดีด้วย!! คุณเหมาะที่จะเป็นนักพูดสร้างแรงบันดาลใจ เพราะคุณมีความคิดที่อยากจะนำเสนอเรื่องราวดีๆ เรื่องที่สร้างสรรค์ แง่คิด แนวคิดดีๆ มีจุดน่าสนใจให้ผู้ฟังติดตาม คุณมักจะทำการบ้านก่อนการพูดเสมอๆ มีการเตรียมตัวอย่างเป็นระเบียบ หรือมีการค้นหาข้อมูล จัดเรียงตำแหน่ง เนื้อเรื่องส่วนต่างๆ เป็นลำดับชัดเจนว่าอันไหนควรพูดก่อน พูดหลัง จุดไหนคือจุดเด่น จุดไหนคือส่วนสำคัญที่จะทำให้คนสนใจ
คุณรู้จักการทำให้ผู้คนสนใจคุณได้จากน้ำเสียงในการพูดที่น่าสนใจ ทั้งทักษะการพูดอย่างมีจังหวะ ไม่พูดเร็วจนเกินไป มีการใช้เสียงสูงต่ำบ้างในบ้างครั้งทำให้เนื้อหามีความน่าสนใจ สามารถดึงดูดสายตาผู้ฟังได้ มีศิลปะการแสดงสีหน้า การใช้กริยาและท่าทางสอดคล้องกับเรื่องการใช้เสียงชัดเจน และสุดท้ายคุณเป็นผู้พูดที่ดีได้อย่างแน่นอน เพราะผู้พูดที่ดีย่อมต้องรับฟังคำวิจารย์ หรือข้อโต้แย้งของผู้ฟังได้ ผู้พูดเองก็ต้องเป็นผู้ฟังที่ดีเช่นกัน หมั่นหาความรู้ ข้อมูลมาเพิ่มเติมและแก้ไขตัวเองในการพูดครั้งต่อไป
ติดตามคอลัมน์ Knowledge Around ได้ที่นิตยสาร Campus Star No.50
Facebook : www.facebook.com/CAMPUSSTARS