ตกหลุมรัก วิทยาศาสตร์

3 ขั้น ของความรัก – ทำไมคนเราถึงตกหลุมรัก และหมดรักกันได้อย่างง่ายดาย

Home / ความรัก ความสัมพันธ์ / 3 ขั้น ของความรัก – ทำไมคนเราถึงตกหลุมรัก และหมดรักกันได้อย่างง่ายดาย

คนส่วนใหญ่อาจจะมองว่าความรักเป็นเรื่องของความรู้สึกบ้างล่ะ เรื่องของโชคชะตาฟ้าลิขิตบ้างล่ะ แต่สำหรับนักวิทยาศาสตร์แล้ว พวกเขามองว่า ความรักเป็นเรื่องของอารมณ์ที่เกิดจากสารเคมีในสมอง และได้แบ่งความรักออกเป็น 3 ขั้น จะมีอะไรบ้าง แล้วแต่ละขั้นจะเป็นยังไง ลองตามไปดูกันได้เลยค่ะ แล้วคุณอาจจะเข้าใจความรักมากขึ้น..

3 ขั้น ของความรัก – ทำไมคนเราถึงตกหลุมรัก

ขั้นที่ 1 : ความต้องการทางเพศ

สมองจะหลั่งฮอร์โมนเพศ เทสโทสเทอโรน และเอสโทรเจนมากขึ้น

เมื่อเอสโทรเจนในร่างกายเพิ่มสูงขึ้น ผู้หญิงมักจะแสดงท่าทีที่เป็นการดึงดูดฝ่ายตรงข้าม อย่างการใช้สายตา หรือท่าทาง ส่วนในผู้ชายเมื่อเทสโทสเทอโรนเพิ่มระดับสูงขึ้น มักจะมีแรงขับเคลื่อนทางเพศมากขึ้น และทำตัวเป็นสุภาพบุรษมากขึ้น จึงทำให้พวกเขามีแรงดึงดูดต่อเพศตรงข้ามมากยิ่งขึ้น จึงเป็นสาเหตุของคำว่า รักแรกพบ นั่นเอง

ขั้นที่ 2: การดึงดูด (เสน่ห์)

รู้สึกตื่นเต้น ตื่นตาตื่นใจ ร่างกายอบอวลไปด้วยฮอร์โมนแห่งความสุข

เมื่อได้พบเจอคนที่ถูกใจ เราจะรู้สึกตื่นตาตื่นใจ ราวกับตกอยู่ในภวังค์ อะดรีนาลีน จะถูกหลั่งออกมาโดยต่อมหมวกไต ในเวลาที่เรารู้สึกตื่นเต้น สิ่งที่ตามมาก็คือ เหงื่อแตกพลั่ก ใจเต้นแรง โหวง ๆ ในท้อง นอกจากนี้ยังมีงานวิจัยระบุว่า มีบางอย่างสัมพันธ์กันระหว่างอะดรีนาลีนกับแรงดึงดูด นั่นคือ อะดรีนาลีนในร่างกายยิ่งสูงเท่าไหร่ก็ยิ่งทำให้คนคนนั้นมีแรงดึงดูดมากเท่านั้น

ดปามีน และเซโรโทนิน ที่ได้ชื่อว่าเป็นฮอร์โมนแห่งความสุข จะถูกหลั่งออกมามากขึ้นเมื่อเราเจอคนที่ถูกใจ

โดปามีน จะกระตุ้นความปรารถนาและความต้องการสิ่งตอบแทน ร่างกายจะรู้สึกมีพลังงานมากขึ้น ความอยากอาหารและต้องการการนอนหลับน้อยลง มีใจจดจ่อกับสิ่งหรือคนที่สนใจมากกว่าปกติ ต้องการความสนใจมากขึ้น ทำให้รู้สึกตื่นเต้นและแฮปปี้ในเวลาเดียวกัน

เซโรโทนิน สารเคมีที่เกี่ยวข้องกับเรื่องของอารมณ์ ความสุข ความเจ็บปวด ความอยากอาหาร  ความต้องการทางเพศ การนอนหลับ และการรับรู้ต่าง ๆ เป็นสารเคมีที่ทำให้อารมณ์ดี แต่จะออกฤทธิ์เช่นเดียวกับโคเคน นั่นคือ ทำให้เกิดการเสพติดได้เหมือนกัน คุณจะคิดถึงแต่คนนั้น จิตใจจดจ่อที่เขาเพียงอย่างเดียว

ขั้นที่ 3: ความผูกพัน

ร่างกายหลั่ง ฮอร์โมนแห่งความผูกพัน ออกซิโทซิน และวาโซเพรสซิน

ออกซิโทซิน บ้างก็เรียกว่า ฮอร์โมนแห่งรัก(love hormone)  ฮอร์โมนแห่งการกอด (cuddle hormone) และฮอร์โมนแห่งความเชื่อใจ (trust hormone) เพราะทำให้เกิดความรัก ความผูกพัน และความเชื่อใจซึ่งกันและกัน

วาโซเพรสซิน มีผลต่อเรื่องของความสัมพันธ์ระยะยาว ในคู่รักที่มีความสัมพันธ์แนบแน่น เป็นเรื่องของความผูกพัน เป็นสารที่ถูกหลั่งออกมาหลังจากคู่รักมีเพศสัมพันธ์ แต่ถ้าวันใดที่วาโซเพรสซินในร่างกายลดระดับลง ความสัมพันธ์ระหว่างคู่รักก็จะเริ่มบอบบาง และอาจทำให้เกิดปัญหาการนอกใจ ปัญหามือที่สาม ปัญหาบ้านแตกตามมา..

ขอบคุณข้อมูลจาก: yourtangoscienceofpeople

บทความที่เกี่ยวข้อง