การพูดคุย บทสนทนา ผู้พูด ผู้ฟัง เคล็ดลับในการสนทนา

เคล็ดลับ 6 ข้อ ที่จะทำให้คุณ POP ได้ง่ายๆ !

Home / ความรัก ความสัมพันธ์ / เคล็ดลับ 6 ข้อ ที่จะทำให้คุณ POP ได้ง่ายๆ !

กี่ครั้งแล้วที่คุณรู้สึกว่าไม่มีตัวตนในสังคม พูดอะไรไปไม่คนสนใจ หรือไม่อีกฝ่ายก็แค่พยักหน้าอึกๆ อักๆ ไปตามน้ำ ตามมารยาท มีบ้างมั้ยที่การไปร่วมงานปาร์ตี้และทำความรู้จักกับผู้คนใหม่ๆ ทำให้คุณประหม่าหรือเรื่องการพูดคุยทักทายเรื่องยากสำหรับคุณ ปัญหาของคุณจะหมดไป เพราะวันนี้ Campus-Star ได้รวบรวม 6 เคล็ดลับ ที่สามารถทำให้ใครๆ ก็อยากพูดคุยกับคุณ!

สลายความอายและความไม่มันใจไปซะ เตรียมตัวให้พร้อมแล้วมาเริ่มกันเลย…

6 ข้อนี้ที่จะทำให้คุณ POP ได้ไม่ยาก!

1. เลือกหัวข้อสนทนาให้เหมาะสมกับคู่สนทนา

สำหรับคนที่เพิ่งรู้จักกัน โปรดจำไว้ว่า หัวข้อต้องห้ามในการเริ่มสนทนาคือ การเมือง การเงิน ศาสนา เพราะเรื่องพวกนี้เป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อน ถ้าคุณเผลอพูดออกไป คู่สนทนาของคุณอาจจะไม่เห็นด้วยจนอาจจะกลายเป็นการโต้เถียงไปในที่สุด ทางที่ดีคือควรหลีกเลี่ยงหัวข้อพวกนี้ และเริ่มต้นด้วยหัวข้อธรรมดาไปก่อน เช่น “คุณสบายดีมั้ย” “งานอดิเรกของคุณคืออะไร” “เมื่อคืนคุณได้ดูละครเรื่องนี้มั้ย” การพูดคุยเรื่องพวกนี้จะช่วยให้รู้จักอีกฝ่ายมากขึ้น แถมยังได้ความสนุกสนานจากบทสนทนาอีกต่างหาก

2. รู้จักหวะที่จะแทรกเรื่องส่วนตัวลงไป

เมื่อคุณพูดคุยกันถึงหัวข้อหนึ่ง แน่นอนว่าต้องมีการแสดงความคิดเห็นที่เป็นเรื่องส่วนตัวลงไปบ้าง เช่น หากคู่สนทนาบอกว่าเขาเสียใจที่หมาเขาตาย ถ้าหากคุณเคยมีประสบการณ์ในเรื่องนี้ก็ควรจะบอกคู่สนทนาว่า คุณผ่านเหตุการณ์แบบนั้นมาได้อย่างไร ให้คำแนะนำและให้กำลังใจ แต่ไม่ใช่เล่าเรื่องราวที่ตนเองเคยประสบจนมันกลายเป็นเรื่องราวของคุณ นั่นจะทำให้คู่สนทนาของคุณเบื่อ เพราะไม่ว่าคุยกันเรื่องอะไรก็จะวกเข้าเรื่องของคุณอยู่ตลอด!

3. ปรับตัวให้เข้ากับบทสนทนา

อย่าเพิ่งงงกันไป ปรับตัวตัวให้เข้ากับบทสนทนาในที่นี้หมายถึง เมื่อมีบทสนทนาเริ่มก็ต้องมีบทสนทนาจบ จะให้คุยกันแต่เรื่องเดียวทั้งวันมันก็ไม่ใช่ คุณควรรู้ว่าตอนไหนที่ควรจะพูดคุยต่อหรือควรจะหยุดพูดคุยหัวข้อนี้ นี่คือเสน่ห์อย่างหนึ่งของนักพุดคุยที่ดี เมื่อหัวข้อเก่าจบไป คุณก็ใส่หัวข้อใหม่เข้าไปแทน เชื่อเถอะว่านี่มันจะทำให้คุณกลายเป็นคนคุยสนุก แล้วทีนี้ใครเห็นก็เป็นต้องทักคุณ!

4. ฟังให้มากกว่าพูด

การฟังเป็นหัวใจหลักของนักสื่อสารที่ดี เมื่อคุณอยู่ในบทสนทนา คุณควรที่จะตั้งใจฟังสิ่งที่ผู้สนทนาพูด เพราะจะทำให้บทสนทนาของคุณมีพลังและเต็มไปด้วยความตื่นเต้น ตั้งใจฟังจึงเกิดความเข้าใจและตีความ นั่นทำให้ผู้พูดอยากที่จะสนทนาต่อ อย่าเอาแต่พูดเรื่องของเราอย่างเดียว ควรฟังเรื่องของคนอื่น แสดงความคิดเห็น เพื่อให้การพูดคุยเป็นไปอย่างราบรื่น

5. ใช้คำถามปลายเปิด และรับคำตอบแบบกว้างๆ

ถามคำถามที่ต้องตอบว่า ใช่/ไม่ใช่ เป็นการใช้คำถามแบบปลายปิดที่ทำให้บทสนทนาตัน เมื่อคุณถามคำถามปลายปิดจะได้รับเพียงคำตอบเดียวและสิ่งที่ตามมาคือความเงียบ…คุณควรใช้คำถามปลายเปิด ที่สามารถให้คู่สนทนาแสดงความคิดเห็นออกมา พูดง่ายๆคือให้เขาสามารถพุดคุยกับเราให้ได้มากที่สุด เช่นหากคุณถามว่า “กินข้าวรึยัง” คำตอบที่จะได้กลับมาคือ กินแล้ว/ยัง ลองเปลี่ยนเป็น “กินข้าวกับอะไร” หรือหากคู่สนทนาใช้คำถามแบบปลายปิดกับคุณ คุณควรตอบแบบกว้างเพื่อให้คู่สนทนาสามารถถามได้ต่อ นั่นก็จะทำให้บทสนทนาน่าสนใจมากยิ่งขึ้น

6. พูดคุยให้เหมือนกับตีเทนนิส

คุณเคยดูเทนนิสมั้ย? นักกีฬาตีลูกโต้กันไปมา บทสนทนาก็เหมือนกัน เมื่อมีอีกฝ่ายพูดเราก็ควรที่จะรับฟังแล้วก็พูดคุยตอบ นั่นจะทำให้บทสนทนาของเราเป็นไปอย่างต่อเนื่อง เวลาพูดคุยควรมีอารมณ์ร่วมไปกับบทสนทนา เรื่องตลกเราก็หัวเราะ เรื่องเศร้าเราก็รู้จักอกเห็นใจเขา  มีอารมณ์ร่วมโต้ตอบไปกับบทสนทนาที่คุณได้รับฟัง ที่สำคัญอีกอย่างนึงเลยในการสนทนาคือ น้ำเสียง คุณควรจะรู้ว่าเราไม่สามารถใช้น้ำเสียงเดียวแล้วพูดกับทุกคนได้ ให้ระวังข้อนี้ไว้ด้วยไม่งั้นคุณอาจจะโดนใครๆ เข้าใจผิดได้จากน้ำเสียงของคุณ!

ที่มา http://www.lifehack.org/