ไขปริศนาความเชื่อ ทำไม “เนื้อคู่” หน้าตามักคล้ายกัน

ถ้าไม่พูดถึงการดึงดูดของเพศตรงข้าม เราจะชอบคนที่ลักษณะท่าทางดูเหมือนกับเรา เพราะว่าพวกเขามีแนวโน้มมีบุคลิกคล้ายคลึงกับเราด้วย และจากการศึกษาพบว่า ถ้าเราอยู่กับใครเป็นระยะเวลานานๆ แล้ว เราจะดูคล้ายคนๆ นั้นมากขึ้น

ทำไม “เนื้อคู่” หน้าตามักคล้ายกัน

นักวิจัยลงมือสำรวจว่า ทำไม “คู่ชีวิต” จึงมักมีหน้าตาที่คล้ายกัน โดยสอบถามข้อมูลจากผู้เข้าร่วมการวิจัยชาย 11 คน และหญิง 11 คน ถึงคู่ชีวิต 160 คู่ ในชีวิตจริง โดยให้ดูรูปของสามีและภรรยาแยกกัน และผู้เข้าร่วมทดสอบไม่ทราบว่าคนไหนแต่งงานกับคนไหน

ผลการทดสอบ

ผู้เข้าร่วมได้ให้คะแนนหญิงและชายที่เป็นคู่ชีวิตกันจริงๆ ว่ามีลักษณะที่เหมือนกันและมีบุคลิกที่คล้ายคลึงกัน และคู่ที่อยู่ด้วยกันนานก็มีความคล้ายคลึงกันมากขึ้น นักวิจัยได้คาดว่าการได้มีประสบการณ์ร่วมกันอาจมีผลกับหน้าตาของคู่ชีวิตทั้งคู่

เหตุผลทางชีววิทยา

โทนี่ ลิตเติ้ล นักวิชาการมหาวิยาลัยลิเวอร์พูล ประเทศอังกฤษ หนึ่งในทีมวิจัย กล่าวว่า ความคิดที่ว่าความสัมพันธ์ระหว่างรูปร่างหน้าตาและบุคลิกภาพอาจดูแปลกในตอนแรก แต่ก็มีเหตุผลทางชีววิทยาที่เชื่อมโยงความคิดนี้

ลิตเติ้ล อธิบายว่า ฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน (Testosterone) มีความเกี่ยวข้องกับโครงสร้างของใบหน้าผู้ชาย และมีผลต่อพฤติกรรมด้วย ดังนั้น การแสดงออกของอารมณ์บนใบหน้าของเรา และการแสดงออกทางอารมณ์เป็นระยะเวลานานอาจทำให้มันติดอยู่บนหน้าเรา ตัวอย่างเช่น คนที่ยิ้มมากๆ ใบหน้าก็อาจแสดงเส้นสายและกล้ามเนื้อบ่งบอกว่าเป็นคนมีความสุข

พันธุกรรมคล้ายคลึงกัน มักจะ..

นอกจากนั้น ยังมีการศึกษาอื่นๆ ที่ชี้ว่า คนที่มีพันธุกรรมคล้ายคลึงกัน มีแนวโน้มจะเป็นคู่แต่งงานที่มีความสุขมากกว่า บุคลิกภาพและลักษณะทางกายภาพที่คล้ายคลึงกันอาจเป็นทางหนึ่งที่วัดถึงความคล้ายคลึงกันทางพันธุกรรม

ข้อมูลจากการศึกษาดังกล่าว ตีพิมพ์ในวารสารบุคลิกภาพ “Personality and Individual Differences” ฉบับมีนาคม 2011 โดยจะนำเสนอเนื้อหาด้วยว่า คนเรานั้นถ้าใช้การมองดูลักษณะใบหน้าเพื่อที่จะตัดสินใจเกี่ยวกับบุคลิกของใคร บ่อยครั้งที่การตัดสินใจว่าจะคบหาสมาคมกับใครมักดูที่ตาและรอยยิ้ม เพราะรอยยิ้มเป็นสิ่งสำคัญในสังคมที่จะบอกว่าคนๆ นั้นมีความเป็นมิตรมากน้อยแค่ไหน ส่วนดวงตาก็เป็นจุดที่คนมักให้ความสนใจมองอยู่แล้ว

รูปร่างโครงหน้าทั้งหมดก็มีความสำคัญเหมือนกัน ตัวอย่างเช่น คางที่ใหญ่ ที่เกิดจากการรวมตัวของกล้ามเนื้อ และช่วงสันจมูกถึงคิ้วก็สามารถแสดงอารมณ์ของความไม่เห็นด้วยและความไม่เต็มใจในการร่วมมือได้

ขณะนี้นักวิจัยกำลังมองหา “คนโสด” เข้ามามีส่วนร่วมในการศึกษาเพื่อสืบสาวดูว่าลักษณะทางกายภาพและบุคลิกภาพของแต่ละคนมีอิทธิพลกับความชอบส่วนบุคคลหรือไม่

ข้อมูล : vcharkarn.com

บทความแนะนำ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง